เช็คด่วน เงินเข้า 4 รายการ กดเป็นเงินสดได้

“โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด” เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของคุณพ่อ-คุณแม่ที่อยู่ในครอบครัวยากจน เพราะรัฐจะสนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูบุตรคนละ 600 บาท/เดือน ซึ่งจะจ่ายให้ทุกเดือนตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ 
          สำหรับใครที่ลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไว้แล้ว คงอยากทราบว่า เงินช่วยเหลือประจำปีงบประมาณ 2563 (เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) จะถูกโอนเข้าบัญชีวันไหน ลองมาตรวจสอบปฏิทินการจ่ายเงินอุดหนุนบุตรจากกรมบัญชีกลางได้เลย

เงินเด็กแรกเกิด

ใครได้สิทธิ์รับเงินอุดหนุนบุตร ปีงบประมาณ 2563 บ้าง ?

          – สำหรับผู้ลงทะเบียนรายเก่าที่มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุน (รายเดิม)          – สำหรับผู้ที่มาให้ข้อมูลรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) เพิ่มเติม ภายหลังวันที่ 30 กันยายน 2561
          – สำหรับผู้ลงทะเบียนรายใหม่ที่ผ่านการพิจารณาแล้ว และมีการบันทึกข้อมูลสมบูรณ์อยู่ในระบบฐานข้อมูลของโครงการเงินอุดหนุนฯ ภายในวันที่กำหนด

           * วิธีตรวจสอบสิทธิ์เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เช็กง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเอง

ลงทะเบียนอุดหนุนเด็กแรกเกิดปี 2563 ได้อย่างไร ?

          หากเคยลงทะเบียนไว้แล้วในปีก่อนหน้า ไม่ต้องมาลงทะเบียนใหม่ โดยจะได้รับโอนเงินต่อเนื่องจนบุตรมีอายุ 6 ขวบ แต่กรณียังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน หรือเพิ่งคลอดบุตรในช่วงปลายปี 2562 ก็สามารถมาลงทะเบียนได้เลยตามสถานที่รับลงทะเบียนต่อไปนี้

– กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตในพื้นที่ที่พักอาศัยอยู่
 – เมืองพัทยา : ลงทะเบียนได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
– ส่วนภูมิภาค : ลงทะเบียนที่สำนักงานเทศบาล หรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตามภูมิลำเนา
คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

เด็กแรกเกิดที่มีสิทธิ์
          – ต้องมีสัญชาติไทย 
          – พ่อแม่ของเด็กต้องมีสัญชาติไทย หรือคนใดคนหนึ่งมีสัญชาติไทย
          – เด็กต้องเกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป จนมีอายุครบ 6 ขวบ
          – อาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
          – ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน

ผู้ปกครองที่มีสิทธิ์ลงทะเบียน
          – มีสัญชาติไทย
          – เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในอุปการะ (ไม่ใช่พ่อแม่ก็ได้)
          – เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
          – อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อย คือ สมาชิกในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี

* หมายเหตุ มารดาที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ยังไม่ต้องมายื่นคําร้องขอลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

เงินเด็กแรกเกิด

เอกสารที่ใช้ลงทะเบียน รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด

          1. แบบคําร้องขอลงทะเบียน (ดร.01) (ดาวน์โหลดที่นี่)

          2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) (ดาวน์โหลดที่นี่)

          3. บัตรประจําตัวประชาชนของผู้ปกครอง
          4. สูติบัตรเด็กแรกเกิด
          5. สมุดบัญชีเงินฝากของผู้ปกครอง (บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย บัญชีเงินฝากเผื่อเรียก ธนาคารออมสิน หรือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น)
          6. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เฉพาะหน้าที่ 1 ที่มีชื่อของหญิงตั้งครรภ์
          (ในกรณีที่สมุดสูญหาย ให้ใช้เฉพาะสําเนาหน้าที่ 1 พร้อมให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบันทึกข้อมูลและรับรองสําเนา)
          7. กรณีที่ผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียนและสมาชิกในครัวเรือนของผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัท ต้องมีเอกสาร ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ของทุกคนที่มีรายได้ประจํา (สลิปเงินเดือน หรือเอกสารหลักฐานที่นายจ้างลงนาม)
          8. สําเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรแสดงสถานะหรือตําแหน่ง หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงตนของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2

ตรวจสอบสิทธิ์ได้อย่างไร ?

          หากไม่ทราบว่าตัวเองลงทะเบียนผ่านไหม ได้รับสิทธิ์หรือยัง สามารถลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบข้อมูลได้ด้วยตนเอง ที่ระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) เว็บไซต์ govwelfare.cgd.go.th โดยเลือกเมนู “ตรวจสอบประวัติการรับสวัสดิการ”

ทั้งนี้ หากตรวจสอบแล้วไม่พบสิทธิ์ หรือได้รับสิทธิ์ แต่เงินอุดหนุนบุตรไม่เข้าบัญชี หรือมีข้อสงสัยอื่น ๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด กรมกิจการเด็กและเยาวชน call center 02 255 5850-7 ต่อ 121, 122, 123, 124, 147 และ 02 651 6920

สำหรับใครที่ไม่เคยลงทะเบียน แต่อยากขอรับสิทธิ์ มีวิธีการดังต่อไปนี้


วิธีลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ผู้ที่ลงทะเบียน จะต้องมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ไม่เคยขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมาก่อน และเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2504 สำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่เคยลงทะเบียนแล้ว แต่มีการย้ายภูมิลำเนา เช่น เคยลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพที่จังหวัดชลบุรี แต่ปีนี้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จะต้องไปลงทะเบียนใหม่ที่สำนักเขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 
          สำหรับการลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปี 2563 จะเป็นการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับเงินในปีงบประมาณ 2564 (คือเดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) ดังนั้น ผู้ที่ลงทะเบียนในปี 2563 จะยังไม่ได้รับเงินในทันที เพราะจะได้รับเงินตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 เป็นต้นไป
          หากผู้สูงอายุมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด และอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพด้วยตัวเอง หรือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นยื่นแทนได้ ที่สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ส่วนต่างจังหวัดยื่นได้ที่สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยจะได้รับเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ตลอดชีวิต โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดตามช่วงอายุ ดังนี้  
          – อายุ 60-69 ปี ได้รับเงิน 600 บาท/เดือน  
          – อายุ 70-79 ปี ได้รับเงิน 700 บาท/เดือน  
          – อายุ 80-89 ปี ได้รับเงิน 800 บาท/เดือน  
          – อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงิน 1,000 บาท/เดือน 

 

ครบ้างมีสิทธิ์ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 

          ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 

          1. สัญชาติไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน

          2. อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 

          3. ต้องไม่เคยได้รับสิทธิ์ประโยชน์จากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐจัดให้เป็นประจำ  

เบี้ยผู้สูงอายุ 2563 ใครสามารถลงทะเบียนได้บ้าง
          สำหรับการลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปี 2563 จะเป็นการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับเงินในปีงบประมาณ 2564 (คือเดือนตุลาคม 2563-กันยายน 2564) ดังนั้น ผู้ที่ลงทะเบียนในปี 2563 จะยังไม่ได้รับเงินในทันที เพราะจะได้รับเงินตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 เป็นต้นไป 

ทั้งนี้ผู้ที่สามารถลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพในปี 2563 ได้ คือ

          1. ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมาก่อน

          2. ผู้ที่จะมีอายุครบ 60 ปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งนับอายุจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2564 ดังนั้นต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2504 จึงจะมีสิทธิ์ลงทะเบียนล่วงหน้าในปี 2563 เพื่อรอรับเงินในปีงบประมาณ 2564 (สำหรับผู้สูงอายุที่ทะเบียนราษฎรระบุเฉพาะปีเกิด แต่ไม่ทราบวันเกิด/เดือนเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น ๆ) 

          3. ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว แต่มีการย้ายภูมิลำเนา เช่น เคยลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพที่จังหวัดชลบุรี แต่ปีนี้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จะต้องไปลงทะเบียนใหม่ที่สำนักเขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ครบ้างมีสิทธิ์ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 

          ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 

          1. สัญชาติไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน

          2. อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 

          3. ต้องไม่เคยได้รับสิทธิ์ประโยชน์จากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐจัดให้เป็นประจำ  

เบี้ยผู้สูงอายุ 2563 ใครสามารถลงทะเบียนได้บ้าง
          สำหรับการลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปี 2563 จะเป็นการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับเงินในปีงบประมาณ 2564 (คือเดือนตุลาคม 2563-กันยายน 2564) ดังนั้น ผู้ที่ลงทะเบียนในปี 2563 จะยังไม่ได้รับเงินในทันที เพราะจะได้รับเงินตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 เป็นต้นไป 

ทั้งนี้ผู้ที่สามารถลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพในปี 2563 ได้ คือ

          1. ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมาก่อน

          2. ผู้ที่จะมีอายุครบ 60 ปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งนับอายุจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2564 ดังนั้นต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2504 จึงจะมีสิทธิ์ลงทะเบียนล่วงหน้าในปี 2563 เพื่อรอรับเงินในปีงบประมาณ 2564 (สำหรับผู้สูงอายุที่ทะเบียนราษฎรระบุเฉพาะปีเกิด แต่ไม่ทราบวันเกิด/เดือนเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น ๆ) 

          3. ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว แต่มีการย้ายภูมิลำเนา เช่น เคยลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพที่จังหวัดชลบุรี แต่ปีนี้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จะต้องไปลงทะเบียนใหม่ที่สำนักเขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

เบี้ยผู้สูงอายุ

เบี้ยคนพิการ

คนพิการทุกคนที่มีสมุดหรือบัตรประจำตัวคนพิการ ไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ และไม่เคยขึ้นทะเบียนและรับเงินเบี้ยความพิการมาก่อน มีสิทธิ์ลงทะเบียนขอรับ “เบี้ยความพิการ” ที่สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ส่วนต่างจังหวัดยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยจะได้รับเงินคนละ 800 บาท/เดือน 
          อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติเพิ่มเบี้ยคนพิการจาก 800 บาท/เดือน เป็น 1,000 บาท/เดือน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของผู้พิการ โดยจะเริ่มจ่ายตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป
          สำหรับคนพิการที่เป็นผู้สูงอายุ คือมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับทั้ง “เบี้ยความพิการ” และ “เบี้ยผู้สูงอายุ”  
          ทั้งนี้ หากผู้สูงอายุ หรือคนพิการ ไม่ได้รับการโอนเงิน สามารถนำสมุดบัญชีธนาคารไปติตด่อได้ที่เทศบาลหรือ อบต. ใกล้บ้าน เพื่อให้กรมบัญชีกลางตรวจสอบข้อมูลและโอนเงินตกเบิกให้ในเดือนถัดไป

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top