ช่วยเหลือเกษตรครัวเรือนละ 15,000 Farmbook สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล

พี่น้องประชาชนชาวไร่ชาวนา ต่างเฝ้ารอความคืบหน้าของมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยล่าสุด ที่ประชุม ครม. วันนี้ หลายฝ่ายจับตาไปที่มาตรการของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีการเสนอให้ช่วยเหลือเกษตรครัวเรือนละ 15,000 จำนวน 9 ล้านครอบครัว  โดยจ่ายเงินผ่านทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.  

   (คุณสามารถตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกรของคุณและคนในครอบครัว ได้ที่นี่

กระทั่ง ล่าสุด กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดทำเมนูตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกรและสมาชิกครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งท่านที่ต้องการตรวจสอบว่าตนเองและสมาชิกในครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรหรือไม่ ท่านสามารถกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลักของตนเองเข้าไป และกดค้นหา

ล่าสุด นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยกับทีมข่าวช่อง 3 ออนไลน์ว่า ในกรณีที่เกษตรกรไม่ได้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น FARMBOOK เอาไว้ และไม่แน่ใจว่าตนเองเป็นเกษตรกรหรือไม่นั้น ท่านสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ http://farmer.doae.go.th/ เพื่อตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกรของท่าน  “หากท่านได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้แล้ว ระบบจะแสดงผลหมายเลขทะเบียนเกษตรกรของท่าน และถ้าท่านเป็นคนในครอบครัวที่ช่วยทำการเกษตร ระบบก็จะแสดงผลให้เห็นว่า ชื่อของท่านอยู่ในทะเบียนเกษตรกรของผู้ใด หมายเลขอะไร” นายเข้มแข็ง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

กรอกเลขบัตรประชาชน แต่ไม่พบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร หมายความว่า?

นายเข้มแข็ง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้คำตอบว่า “แม้คุณจะเป็นเกษตรกรมาทั้งชีวิต แต่ถ้าพี่น้องเกษตรกรยังไม่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร แม้จะกรอกข้อมูลไปอย่างไร ระบบก็ไม่เจอข้อมูลครับ” 

ไม่แน่ใจว่า ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้วหรือยัง ต้องทำอย่างไร?

นายเข้มแข็ง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำว่า “ท่านสามารถติดต่อไปที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน หรือโทรไปสอบถาม เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังหน่วยงาน และสนับสนุนมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม” 

พ่อ-แม่ เป็นเกษตรกร = ลูกเป็นเกษตรกร?

ส่วนประเด็นที่หลายคนสงสัยว่า เมื่อพ่อแม่ หรือใครคนใดคนหนึ่งในครอบครัว ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรไว้แล้ว ลูกๆ หรือสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวจะต้องเป็นเกษตรกรไปด้วยหรือไม่?   

นายเข้มแข็ง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้คำตอบว่า “กรณีที่คุณไปขึ้นทะเบียนเกษตรกร ในเอกสารที่คุณต้องกรอกจะมีการสอบถามว่า สมาชิกในครัวเรือนของท่าน ช่วยทำการเกษตรหรือไม่ ซึ่งจุดนี้ขึ้นอยู่กับว่า ท่านสมัครใจจะใส่ชื่อคนในครอบครัว หรือไม่ใส่ก็ได้” 

“แต่ที่ผ่านมา เราก็จะแนะนำว่า ถ้าท่านใส่ชื่อสมาชิกในครอบครัว ก็จะมีประโยชน์อันดีแก่ท่าน โดยเฉพาะกับลูกหลาน ไม่ว่าจะเป็นการขอทุนการศึกษา, การกู้ยืมเงินแบบดอกเบี้ยถูก ซึ่งผู้ที่ลงชื่อไว้ก็จะได้รับสิทธิ์พิเศษ และนี่คือข้อดีของการขึ้นทะเบียนเกษตรกร” นายเข้มแข็ง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว 

“และที่ผ่านมา มีประชาชนหลายท่านไม่รู้ตัวว่า ตัวเองเป็นเกษตรกร เนื่องจากพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวไม่ได้แจ้งว่า ตอนไปขึ้นทะเบียนเกษตรกร ได้ใส่ชื่อลูก ชื่อหลานลงไปในช่องช่วยทำการเกษตรไปด้วย” นายเข้มแข็ง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

อยากขึ้นทะเบียนเกษตรกร ต้องทำอย่างไร?

นายเข้มแข็ง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้คำตอบว่า “พี่น้องเกษตรกรที่ต้องการจะขึ้นทะเบียนเกษตรกรนั้น ต้องไปขึ้นทะเบียนที่สำนักงานเกษตรอำเภอ แต่ ณ ขณะนี้ ทางกรมฯ ได้อะลุ่มอล่วยให้ ซึ่งท่านสามารถกรอกแบบฟอร์มได้จากที่บ้าน” “โดยพี่น้องเกษตรกรที่ต้องการจะขึ้นทะเบียนเกษตร พี่น้องเกษตรกรต้องกรอกข้อมูล 9 หมวด 3 หน้า อาทิ ข้อมูลการประกอบอาชีพและปัญหาเบื้องต้นที่เกษตรกรประสบ, ระบุข้อมูลสมาชิกในครัวเรือนว่า ช่วยทำการเกษตรหรือไม่, ท่านมีเครื่องจักรกลเกษตรประเภทใดบ้าง ที่ยังสามารถใช้งานได้ เป็นต้น พร้อมกับขอสำเนาบัตรประชาชน, เอกสารสิทธิ์ที่ท่านมี จัดส่งไปที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะทำการขึ้นทะเบียนให้แก่ท่าน(ในสภาวะปกติ ท่านต้องไปที่สำนักงานเกษตรอำเภอ)”  

หมายเหตุ : ดาวน์โหลดแบบคําร้องทะเบียนเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ที่นี่ http://farmer.doae.go.th/farmerform.pdf

“และเมื่อเกษตรกรขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้วนั้น ข้อมูลก็จะขึ้นไปอยู่ที่ FARMBOOK สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล(ประชาชนทั่วไปสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น FARMBOOK ได้) ซึ่งเกษตรกรสามารถเข้าไปอัพเดทข้อมูลทุกรอบการเพาะปลูก และเข้าไปตรวจสอบได้ว่า ตนเองเป็นเกษตรกรหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดี แอปฯ FARMBOOK ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรได้” นายเข้มแข็ง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว หมายเหตุ : คุณสามารถอ่านหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ที่นี่

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานอื่น ถือว่า เป็นเกษตรกรหรือไม่?

ส่วนที่ประชาชนหลายฝ่ายกังวลว่า ข้อมูลการขึ้นทะเบียนของเกษตรกรนั้น กระจัดกระจายอยู่ในหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาตกหล่นของรายชื่อเกษตรกรได้ ในประเด็นนี้ นายเข้มแข็ง  อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร มองว่า เมื่อเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนแล้วนั้น ชื่อของเกษตรกรก็จะอยู่ในระบบอยู่แล้ว  ส่วนเกษตรกรบางกลุ่ม เช่น กลุ่มประมง กลุ่มปศุสัตว์ ก็จะมีหน่วยงานที่กำกับดูแลเป็นผู้จัดเก็บข้อมูล ส่วนกรมส่งเสริมการเกษตรจะรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้านพืช โดยมีหน่วยงานที่เป็นนายทะเบียนผู้รวบรวมข้อมูลทั้งหมด คือ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร “มาตรการจ่ายเงินเยียวยา 15,000 บาทนั้น ยังไม่ได้มีความชัดเจน และยังไม่ทราบว่า สุดท้ายแล้วรัฐบาลจะช่วยเหลืออย่างไรบ้าง แต่ทางกรมฯ ก็พยายามจัดเตรียมข้อมูลไว้ให้พร้อม” นายเข้มแข็ง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ทิ้งท้าย.

วิธีการลงทะเบียน

สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลเป็นนวัตกรรมดิจิทัลของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่ออำนวยความสะดวกเกษตรกรไทยให้มีความสะดวกในการติดต่อรับบริการการขึ้นและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร โดยในขั้นแรกเกษตรกรต้องขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน เมื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนแล้วจะได้รับเลขทะเบียนเกษตรกร เลข 12 หลัก ซึ่งเป็นหมายเลขประจำครัวเรือนการเกษตร ใช้เป็นกุญแจในการเข้าใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรมีหลักการสำคัญที่ใช้อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร ดังต่อไปนี้

หน้าหลักการขึ้นทะเบียนเกษตรกรการขึ้นและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรหน้าแจ้งปลูก/ถ่ายภาพแปลง
1. การขึ้นและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
  • การตรวจสอบข้อมูลหัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกช่วยทำการเกษตรของครัวเรือน
  • การตรวจสอบข้อมูลแปลงเพาะปลูก ข้อมูลเอกสารสิทธิ์ ข้อมูลกิจกรรมการเกษตรย้อนหลัง ตั้งแต่ครั้งแรกที่แจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกร
  • การปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรด้วยตนเอง เกษตรกรมีความสะดวกมากขึ้นไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงานเกษตรอำเภอ
หน้าติดตามสิทธิ์
ตามมาตรการของภาครัฐ
Pre-GAPGAPคู่มือการปลูกข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา
2. การติดตามโครงการและมาตรการของรัฐ
3. มาตรฐาน
  • Pre-GAP (Pre-Good Agricultural Practices) คือ หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีขั้นพื้นฐานสำหรับสินค้าเกษตรโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดจะมีบทบาทในการประเมินและรับรองผลผลิตสินค้าเกษตรกรเพื่อให้มีความพร้อมในการผลิตสินค้าเกษตรด้วยมาตรฐานที่สูงขึ้น เช่น GAP
  • GAP คือแนวทางการปฏิบัติในไร่นาเพื่อผลิตสินค้าปลอดภัย ปลอดศัตรูพืชและคุณภาพถูกใจผู้บริโภค เน้นวิธีควบคุมและป้องกันการเกิดปัญหาในกระบวนการผลิต ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรค
4. คู่มือเกษตรกร

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top