ตอบคำถาม เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 มาตรา 39 สามารถขอรับเงินเยียวยา 5,000 ได้หรือไม่ ?

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ของกองทุนประกันสังคม จะได้รับสิทธิ์ในเงินเยียวยาดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 คือ กลุ่มอาชีพอิสระโดยตรง อาทิ พ่อค้าแม่ค้า วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เกษตรกร

         ขณะที่ในส่วนของแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม แต่ต้องว่างงานในช่วงนี้ จะได้รับเงินจากกองทุนประกันสังคมในกรณีว่างงานในอัตรา 50% ของค่าจ้าง (แต่ไม่เกิน 15,000) โดยกรณีนายจ้างไม่ให้ทำงานจะรับเงินในกรณีว่างงาน ไม่เกิน 180 วัน และกรณีรัฐสั่งให้หยุดงาน จะได้รับเงินไม่เกิน 90 วัน

ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้แก่

         1. เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ

         2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ (ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 ครม. มีมติอนุมัติให้ขยายคุณสมบัติผู้สมัคร จากไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เป็นไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์)

         3. ต้องเป็นบุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามประกันสังคมมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 (บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้)

         4. ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม

         5. บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม

อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เป็นคำถามคือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ผู้ที่เคยทำงานบริษัทมาก่อนและออกจากไปทำอาชีพอิสระแต่ยังคงส่งเงินประกันสังคมเองอยู่) และผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (ผู้ที่ทำงานอาชีพอิสระและแรงงานนอกระบบอื่น ๆ) ซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่า จะสามารถรับเงินเยียวยาได้หรือไม่
           วันที่ 25 มีนาคม 2563 นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยเกี่ยวกับมาตรการดูแลแรงงานที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ว่า สำหรับแรงงานนอกระบบ หรืออาชีพอิสระที่ประกันตนตามมาตรา 39 และ มาตรา 40 นั้นสามารถยื่นคำขอรับเงินทดแทน จำนวน 5,000 บาทต่อราย เป็นเวลา 3 เดือน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 โดยรายละเอียดมีดังนี้

           – สามารถเริ่มลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน.com ได้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป 

           – หากไม่สะดวกสามารถลงทะเบียนผ่านสาขาของธนาคารรัฐ 3 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ ธนาคารกรุงไทย

           – กระทรวงการคลังจะเป็นผู้เช็คคุณสมบัติว่ารายชื่อดังกล่าวอยู่ในข่ายผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ มาตรา 40 หรือไม่

 -จะได้รับเงินเยียวยาภายใน 5 วันหลังลงทะเบียนผ่านระบบพร้อมเพย์ หรือ บัญชีธนาคารของตนเอง             – เงินจะเริ่มโอนผ่านธนาคารกรุงไทยรอบแรกในเดือนเมษายน 2563 เป็นต้นไป

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ให้ความชัดเจนกรณีผู้ประกันตน ภาคสมัครใจ มาตรา 39 และ 40 หากเจ็บป่วยจากไวรัสโควิด-19 ประกันสังคมจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยแล้วขาดรายได้

นายทศพลฯ เปิดเผยว่าจากวิกฤตการโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้มีผู้ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะแรงงานภาคอิสระตนจึงขอชี้แจงการได้รับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 ดังนี้

ผู้ประกันตนมาตรา 39 หากท่านมีอาการเจ็บป่วยท่านสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์ที่ท่านเลือก โดยท่านจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เว้นแต่เป็นกรณีฉุกเฉินให้เข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดสำนักงานฯ จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินให้ เมื่อแพทย์ตรวจแล้วพบการติดเชื้อโควิด-19 ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับเงินค่าทดแทนการขาดรายได้อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยและต้องหยุดงาน ตามคำสั่งของแพทย์ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง (วันละ 80 บาท)

ผู้ประกันตนมาตรา 40 หากท่านมีอาการเจ็บป่วยขอให้ท่านเข้ารักษาโดยใช้สิทธิ์ สปสช.และหากพบว่าท่านป่วยต้องหยุดพัก ท่านจะได้รับค่าทดแทนการขาดรายได้สูงสุดวันละ 300 บาท และได้รับไม่เกิน 90 วัน

ทั้งนี้ ทั้งผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 นั้น มีสิทธิ์ได้รับเงินค่าทดแทนการขาดรายได้ หากท่านเจ็บป่วย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงภาวะวิกฤติเช่นนี้

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ และขั้นตอนในการลงทะเบียนมีรายละเอียด ดังนี้…

          1. เข้าลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.comคาดว่าเว็บไซต์จะแล้วเสร็จในวันที่ 28 มีนาคม นี้ หรือติดตามประกาศจากทางการในลำดับต่อไป 

          อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่สะดวกในการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ สามารถลงทะเบียนผ่านสาขาธนาคารของรัฐได้ คือ ธ.ออมสิน ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ ธ.กรุงไทย

          2. เตรียมหลักฐานสำหรับลงทะเบียน ได้แก่ หมายเลขบัตรประชาชน, ข้อมูลบริษัทนายจ้าง, ข้อมูลปัญหาความเดือดร้อน และข้อมูลบัญชีพร้อมเพย์ หรือบัญชีธนาคาร

          3. เงินเยียวยาจะถูกโอนเข้าบัญชีธนาคาร ภายใน 5 วัน หลังการลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์

          อย่างไรก็ตาม การลงทะเบียนดังกล่าว จำกัดสิทธิ์เพียง 3 ล้านรายเท่านั้น โดยผู้ที่สามารถลงทะเบียนได้ ต้องเป็นลูกจ้างชั่วคราว, อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม แต่ในส่วนของผู้ที่อยู่ในประกันสังคม จะสามารถเพิ่มสิทธิกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้าง โดยกรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน และกรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน โดยธนาคารกรุงไทย จะเป็นผู้รับลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top